พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เหริยญเจ้าสัว ...
เหริยญเจ้าสัว รุ่นแรก เนื้อทองผสมดูง่ายๆพระแท้ กับใบประกาศการันตีงานสมาคมอีก 4 ใบ
ตำนานแห่งเหรียญเจ้าสัว หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่า แห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี จ.นครปฐม ชื่อเสียงของท่านโด่งดังไปทั่วประเทศไทย แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่คุณงามความดี ยังคงอยู่มิเสื่อมคลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความแก่กล้าสามารถทางคาถาอาคมของท่าน ยังเป็นที่กล่าวขวัญจนทุกวันนี้วัตถุมงคลทุกอย่างที่ท่านได้สร้างขึ้นและปลุกเสกไว้ ล้วนโด่งดังทั้งสิ้น เพราะเต็มไปด้วยกฤตยาคมยิ่งนัก ไม่ว่าจะเป็นลูกอมจินดามณี พระชัยวัฒน์ เบี้ยแก้ เหรียญหล่อโบราณพิมพ์เจ้าสัว ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นที่ต้องการของนักนิยมสะสมพระเครื่องโดยทั่วไปประวัติความเป็นมาของ เหรียญเจ้าสัว สุดยอดของเหรียญหลวงปู่บุญ ที่เช่าหากันที่หลักแสนขึ้นไป เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก กล่าวคือเหรียญหล่อพิมพ์เจ้าสัว รุ่นนี้ เดิมไม่ได้เรียก เหรียญเจ้าสัว แต่ประการใด สมัยที่สร้างเรียกกันว่า เหรียญหล่อซุ้มกระจังตามประวัติของทางวัดที่บันทึกไว้มีว่าเหรียญรุ่นนี้สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานทำบุญฉลองอายุครบ ๗ รอบของหลวงปู่บุญ โดยแจกเฉพาะผู้ร่วมบริจาคปัจจัยจำนวนมาก ไม่ได้แจกทุกคนที่มาร่วมงานในครั้งนั้นด้วยเหตุที่ผู้ได้รับแจกส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่มีฐานะมีอันจะกิน หรือบริจาคปัจจัยจำนวนมาก ในการบอกบุญเรี่ยไรเงินทุนสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในวัด ทำให้ชาวบ้านเรียกเหรียญนี้ว่า เจ้าสัว ตั้งแต่สมัยนั้นคำว่า เจ้าสัว เป็นภาษาจีน มีความหมายถึงคหบดีผู้มีฐานะความร่ำรวยกว่าชาวบ้านทั่วๆ ไป และเป็นผู้มีฐานะร่ำรวยกว่าคำว่า เถ้าแก่ หลายเท่านัก คำว่า เจ้าสัว จึงเป็นมงคลนามที่ชาวจีนนิยมชมชอบกันมากกรรมวิธีการสร้าง เหรียญเจ้าสัว ก็เหมือนกับการเททองหล่อพระแบบโบราณทั่วไป คือขึ้นหุ่นเทียน พอกหุ่นขี้ผึ้ง ทำเป็นช่อด้วยดินไทย เทหล่อด้วยเนื้อโลหะเหลวที่หลอมด้วยความร้อนสูง พอเย็นลงก็ทุบดินออกเบ้าพิมพ์ แล้วตัดองค์พระออกมาจากช่อชนวน ตกแต่งด้วยตะไบ แล้วจึงเชื่อมหูเหรียญในภายหลังผู้ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการสร้างพระชุดนี้คือ พระวินัยโกศล เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรในสมัยนั้นพระที่เหลือจากการแจกจ่ายโดยหลวงปู่บุญในครั้งนั้นวัดบรรจุไว้บนเพดานมณฑปพระพุทธบาทจำลองภายในวัด ต่อมาเมื่อปี ๒๕๑๖ วัดเปิดกรุนำเหรียญหล่อเจ้าสัวนี้ออกมาให้ชาวบ้านทำบุญบูชา เพื่อนำปัจจัยบูรณะวัด เหรียญเจ้าสัว มีพุทธลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณ หูเชื่อม ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธ นั่งขัดสมาธิเพชร บนอาสนะฐานบัวคว่ำบัวหงาย ด้านข้างมีกรอบซุ้มเรือนแก้ว ๒ เส้นขนานกัน กรอบซุ้มหยักเข้ารูป พระเกศองค์แหลมเรียวยาวเกือบจรดเส้นกรอบซุ้ม พระเมาลีเป็นตุ่ม มีรายละเอียดที่เส้นสังฆาฏิ พระพาหากลมด้านหลังเหรียญเรียบ ไม่มีอักขระเลขยันต์ หรือตัวหนังสือใดๆ แต่มีรอยตะไบ ที่ตกแต่งพิมพ์ให้เรียบร้อย บางเหรียญมีรอยเหล็กจาร ทั้งโดยลายมือของหลวงปู่บุญ และลายมือของหลวงปู่เพิ่ม หูเหรียญของแท้ ต้องมีร่องรอยเชื่อมหู ซึ่งเป็นรอยเก่าปรากฏอยู่ ในส่วนที่เป็นหูในตัวก็มีแต่มีน้อยและจุดสำคัญคือ พระพาหา ๒ ข้างกลมนูน ไม่แบนเรียว ซอกพระพาหาลึก เส้นซุ้มกระจังติดชัด และยาวเป็นเส้นเดียวกัน ลายกระจังนูนหนา ไม่เรียวและแบนเหมือนของปลอมเนื้อหามีความเก่าตามอายุ เป็นความเก่าตามธรรมชาติ ไม่ใช่เก่าด้วยการใช้น้ำยาช่วยเสริมแต่งแต่ประการใดในเรื่องของพุทธคุณนั้น เด่นทางด้านโชคลาภ ทำมาค้าขาย และทางด้านแคล้วคลาดอีกด้วยเชื่อกันว่าผู้ที่ห้อยบูชาเหรียญเจ้าสัวแล้วทำมาหากินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จะเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยทุกคน จึงได้รับสมญานามว่าเหรียญเจ้าสัว อย่างในสมัยก่อนนั้น ผู้ที่บูชาเหรียญเจ้าสัวได้แก่เจ้าสัวหยุด เจ้าสัวชม เจ้าสัวโป๊ะ ชมภูนิช เจ้าสัวเป้า บุญญานิตย์ และกำนันแจ้ง ทุกท่านล้วนแต่มีฐานะร่ำรวย ผู้ที่มีเหรียญนี้ไว้ล้วนแต่อุดมด้วยโชคลาภ ทรัพย์สินพูนทวีมีฐานะ เขาจึงมักเรียกเหรียญนี้กันว่า 'เหรียญเจ้าสัว'เหรียญเจ้าสัว พระเครื่องซึ่งมีกิตติคุณทางโชคลาภเป็นเยี่ยมของหลวงปู่บุญ นอกจากพุทธานุภาพเป็นเอกทางโชคลาภแล้วยังมีกฤตยานุภาพทางแคล้วคลาดเป็นเยี่ยมอีกด้วย นับเป็นพระเครื่องอีกชนิดหนึ่งของหลวงปู่บุญที่ค่อนข้างหาได้ยาก เพราะผู้ที่มีไว้ต่างหวงแหน ด้วยมีประสบการณ์ทางโชคลาภกันอยู่เสมอ แม้จะเอาทรัพย์สินมาแลกก็ยังไม่สนใจ เพราะมั่นใจว่าหากมีเหรียญเจ้าสัวแล้วการแสวงหาทรัพย์สินก็มิใช่เป็นเรื่องยาก คนนครชัยศรีหลายคนทีเดียวที่มีฐานะมั่งคั่งขึ้นด้วยบารมีของเหรียญเจ้าสัว หลวงปู่บุญ เรียกว่าเหรียญเจ้าสัวสมชื่อที่เรียกขาน ใครมีไว้ไม่อดตายถ้ารู้จักทำมาหากิน บารมีแห่งเหรียญนี้ก็จะช่วยเสริมส่งเหรียญเจ้าสัว มีลักษณะเป็นกึ่งพระกึ่งเหรียญ อาจจะจัดเป็นพระมากกว่า เพราะนอกจากจะเป็นพระพุทธปฏิมาในซุ้มกระจังแบบเรือนแก้วแล้ว ยังมีสัณฐานค่อนข้างใหญ่และหนา น่าจะเข้าลักษณะพระมากกว่าเหรียญ แต่ด้วยเหตุที่เรียกว่า เหรียญเจ้าสัว กันมานาน มีเนื้อ 2 ชนิด คือ เงิน และ ทองแดง โดยเฉพาะเนื้อเงินนั้นมีจำนวนไม่มากนักเนื้อเงินเป็นเนื้อที่สร้างขึ้นด้วย เงินพดด้วง ผสมกับ ขี้นกเปล้า (นกเปล้า เป็นนกศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่ง ขี้จะมีสารประเภทดีบุกและตะกั่วผสมอยู่ บินสูงและเร็วมาก หายาก เมื่อถึงยามดีจะมาและขี้ทิ้งไว้) หลวงปู่บุญผสมเนื้อแล้วทำพิธีหลอมหล่อเทพิมพ์ที่วัดได้จำนวนไม่มากนักเนื้อทองแดงลักษณะเป็นทองแดงเข้มจัด เข้าใจว่าคงมีส่วนผสมโลหะอื่นๆ จะมีเป็นส่วนน้อยที่มีสีแดงอ่อนๆ ส่วนใหญ่เนื้อนี้จะมีมากกว่าเนื้อเงินด้านหลังเรียบปรากฏรอยตะไบแต่งเล็กน้อยสำหรับเนื้อทองแดง ส่วนเนื้อเงินมักจะเป็นลักษณะรอยค้อนตกแต่ง ส่วนมากจะมีจารอักขระตัว เฑาะว์มหาอุด ซึ่งหลวงปู่เพิ่มจารเอาไว้ ในช่วงที่นำให้เช่าบูชา เมื่อคราว พ.ศ.2516 ส่วนที่แจกไปเมื่อครั้งหลวงปู่บุญนั้นมักจะไม่มีรอยเหล็กจาร ถ้ามีจารจะจารว่า ภควา อันหมายถึงเอกลักษณ์แห่งโชคลาภนั่นเอง ซึ่งพบว่ามีเป็นส่วนน้อยมากบางองค์จะจารเป็นอักขระสามแถวก็มี ซึ่งเป็นรอยลายมือของหลวงปู่บุญ
ผู้เข้าชม
9509 ครั้ง
ราคา
450000
สถานะ
ยังอยู่
ชื่อร้าน
โจ คอนสาร
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
jokonsan888
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
ภูมิ IRชยันโตchathanumaanปุณยนุชเจริญสุขน้ำตาลแดง
somemanswatlordtermboonsomphopเปียโน
แมวดำ99นานาfuchoo18sirikornchaithawatกรัญระยอง
Chobdoysata ep8600kaew กจ.vanglannavaravetlynn
hoppermanบี บุรีรัมย์บ้านพระสมเด็จnaputจ่าดี พระกรุอ้วนโนนสูง

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1262 คน

เพิ่มข้อมูล

เหริยญเจ้าสัว รุ่นแรก เนื้อทองผสมดูง่ายๆพระแท้ กับใบประกาศการันตีงานสมาคมอีก 4 ใบ



  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
เหริยญเจ้าสัว รุ่นแรก เนื้อทองผสมดูง่ายๆพระแท้ กับใบประกาศการันตีงานสมาคมอีก 4 ใบ
รายละเอียด
ตำนานแห่งเหรียญเจ้าสัว หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่า แห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี จ.นครปฐม ชื่อเสียงของท่านโด่งดังไปทั่วประเทศไทย แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่คุณงามความดี ยังคงอยู่มิเสื่อมคลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความแก่กล้าสามารถทางคาถาอาคมของท่าน ยังเป็นที่กล่าวขวัญจนทุกวันนี้วัตถุมงคลทุกอย่างที่ท่านได้สร้างขึ้นและปลุกเสกไว้ ล้วนโด่งดังทั้งสิ้น เพราะเต็มไปด้วยกฤตยาคมยิ่งนัก ไม่ว่าจะเป็นลูกอมจินดามณี พระชัยวัฒน์ เบี้ยแก้ เหรียญหล่อโบราณพิมพ์เจ้าสัว ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นที่ต้องการของนักนิยมสะสมพระเครื่องโดยทั่วไปประวัติความเป็นมาของ เหรียญเจ้าสัว สุดยอดของเหรียญหลวงปู่บุญ ที่เช่าหากันที่หลักแสนขึ้นไป เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก กล่าวคือเหรียญหล่อพิมพ์เจ้าสัว รุ่นนี้ เดิมไม่ได้เรียก เหรียญเจ้าสัว แต่ประการใด สมัยที่สร้างเรียกกันว่า เหรียญหล่อซุ้มกระจังตามประวัติของทางวัดที่บันทึกไว้มีว่าเหรียญรุ่นนี้สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานทำบุญฉลองอายุครบ ๗ รอบของหลวงปู่บุญ โดยแจกเฉพาะผู้ร่วมบริจาคปัจจัยจำนวนมาก ไม่ได้แจกทุกคนที่มาร่วมงานในครั้งนั้นด้วยเหตุที่ผู้ได้รับแจกส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่มีฐานะมีอันจะกิน หรือบริจาคปัจจัยจำนวนมาก ในการบอกบุญเรี่ยไรเงินทุนสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในวัด ทำให้ชาวบ้านเรียกเหรียญนี้ว่า เจ้าสัว ตั้งแต่สมัยนั้นคำว่า เจ้าสัว เป็นภาษาจีน มีความหมายถึงคหบดีผู้มีฐานะความร่ำรวยกว่าชาวบ้านทั่วๆ ไป และเป็นผู้มีฐานะร่ำรวยกว่าคำว่า เถ้าแก่ หลายเท่านัก คำว่า เจ้าสัว จึงเป็นมงคลนามที่ชาวจีนนิยมชมชอบกันมากกรรมวิธีการสร้าง เหรียญเจ้าสัว ก็เหมือนกับการเททองหล่อพระแบบโบราณทั่วไป คือขึ้นหุ่นเทียน พอกหุ่นขี้ผึ้ง ทำเป็นช่อด้วยดินไทย เทหล่อด้วยเนื้อโลหะเหลวที่หลอมด้วยความร้อนสูง พอเย็นลงก็ทุบดินออกเบ้าพิมพ์ แล้วตัดองค์พระออกมาจากช่อชนวน ตกแต่งด้วยตะไบ แล้วจึงเชื่อมหูเหรียญในภายหลังผู้ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการสร้างพระชุดนี้คือ พระวินัยโกศล เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรในสมัยนั้นพระที่เหลือจากการแจกจ่ายโดยหลวงปู่บุญในครั้งนั้นวัดบรรจุไว้บนเพดานมณฑปพระพุทธบาทจำลองภายในวัด ต่อมาเมื่อปี ๒๕๑๖ วัดเปิดกรุนำเหรียญหล่อเจ้าสัวนี้ออกมาให้ชาวบ้านทำบุญบูชา เพื่อนำปัจจัยบูรณะวัด เหรียญเจ้าสัว มีพุทธลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณ หูเชื่อม ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธ นั่งขัดสมาธิเพชร บนอาสนะฐานบัวคว่ำบัวหงาย ด้านข้างมีกรอบซุ้มเรือนแก้ว ๒ เส้นขนานกัน กรอบซุ้มหยักเข้ารูป พระเกศองค์แหลมเรียวยาวเกือบจรดเส้นกรอบซุ้ม พระเมาลีเป็นตุ่ม มีรายละเอียดที่เส้นสังฆาฏิ พระพาหากลมด้านหลังเหรียญเรียบ ไม่มีอักขระเลขยันต์ หรือตัวหนังสือใดๆ แต่มีรอยตะไบ ที่ตกแต่งพิมพ์ให้เรียบร้อย บางเหรียญมีรอยเหล็กจาร ทั้งโดยลายมือของหลวงปู่บุญ และลายมือของหลวงปู่เพิ่ม หูเหรียญของแท้ ต้องมีร่องรอยเชื่อมหู ซึ่งเป็นรอยเก่าปรากฏอยู่ ในส่วนที่เป็นหูในตัวก็มีแต่มีน้อยและจุดสำคัญคือ พระพาหา ๒ ข้างกลมนูน ไม่แบนเรียว ซอกพระพาหาลึก เส้นซุ้มกระจังติดชัด และยาวเป็นเส้นเดียวกัน ลายกระจังนูนหนา ไม่เรียวและแบนเหมือนของปลอมเนื้อหามีความเก่าตามอายุ เป็นความเก่าตามธรรมชาติ ไม่ใช่เก่าด้วยการใช้น้ำยาช่วยเสริมแต่งแต่ประการใดในเรื่องของพุทธคุณนั้น เด่นทางด้านโชคลาภ ทำมาค้าขาย และทางด้านแคล้วคลาดอีกด้วยเชื่อกันว่าผู้ที่ห้อยบูชาเหรียญเจ้าสัวแล้วทำมาหากินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จะเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยทุกคน จึงได้รับสมญานามว่าเหรียญเจ้าสัว อย่างในสมัยก่อนนั้น ผู้ที่บูชาเหรียญเจ้าสัวได้แก่เจ้าสัวหยุด เจ้าสัวชม เจ้าสัวโป๊ะ ชมภูนิช เจ้าสัวเป้า บุญญานิตย์ และกำนันแจ้ง ทุกท่านล้วนแต่มีฐานะร่ำรวย ผู้ที่มีเหรียญนี้ไว้ล้วนแต่อุดมด้วยโชคลาภ ทรัพย์สินพูนทวีมีฐานะ เขาจึงมักเรียกเหรียญนี้กันว่า 'เหรียญเจ้าสัว'เหรียญเจ้าสัว พระเครื่องซึ่งมีกิตติคุณทางโชคลาภเป็นเยี่ยมของหลวงปู่บุญ นอกจากพุทธานุภาพเป็นเอกทางโชคลาภแล้วยังมีกฤตยานุภาพทางแคล้วคลาดเป็นเยี่ยมอีกด้วย นับเป็นพระเครื่องอีกชนิดหนึ่งของหลวงปู่บุญที่ค่อนข้างหาได้ยาก เพราะผู้ที่มีไว้ต่างหวงแหน ด้วยมีประสบการณ์ทางโชคลาภกันอยู่เสมอ แม้จะเอาทรัพย์สินมาแลกก็ยังไม่สนใจ เพราะมั่นใจว่าหากมีเหรียญเจ้าสัวแล้วการแสวงหาทรัพย์สินก็มิใช่เป็นเรื่องยาก คนนครชัยศรีหลายคนทีเดียวที่มีฐานะมั่งคั่งขึ้นด้วยบารมีของเหรียญเจ้าสัว หลวงปู่บุญ เรียกว่าเหรียญเจ้าสัวสมชื่อที่เรียกขาน ใครมีไว้ไม่อดตายถ้ารู้จักทำมาหากิน บารมีแห่งเหรียญนี้ก็จะช่วยเสริมส่งเหรียญเจ้าสัว มีลักษณะเป็นกึ่งพระกึ่งเหรียญ อาจจะจัดเป็นพระมากกว่า เพราะนอกจากจะเป็นพระพุทธปฏิมาในซุ้มกระจังแบบเรือนแก้วแล้ว ยังมีสัณฐานค่อนข้างใหญ่และหนา น่าจะเข้าลักษณะพระมากกว่าเหรียญ แต่ด้วยเหตุที่เรียกว่า เหรียญเจ้าสัว กันมานาน มีเนื้อ 2 ชนิด คือ เงิน และ ทองแดง โดยเฉพาะเนื้อเงินนั้นมีจำนวนไม่มากนักเนื้อเงินเป็นเนื้อที่สร้างขึ้นด้วย เงินพดด้วง ผสมกับ ขี้นกเปล้า (นกเปล้า เป็นนกศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่ง ขี้จะมีสารประเภทดีบุกและตะกั่วผสมอยู่ บินสูงและเร็วมาก หายาก เมื่อถึงยามดีจะมาและขี้ทิ้งไว้) หลวงปู่บุญผสมเนื้อแล้วทำพิธีหลอมหล่อเทพิมพ์ที่วัดได้จำนวนไม่มากนักเนื้อทองแดงลักษณะเป็นทองแดงเข้มจัด เข้าใจว่าคงมีส่วนผสมโลหะอื่นๆ จะมีเป็นส่วนน้อยที่มีสีแดงอ่อนๆ ส่วนใหญ่เนื้อนี้จะมีมากกว่าเนื้อเงินด้านหลังเรียบปรากฏรอยตะไบแต่งเล็กน้อยสำหรับเนื้อทองแดง ส่วนเนื้อเงินมักจะเป็นลักษณะรอยค้อนตกแต่ง ส่วนมากจะมีจารอักขระตัว เฑาะว์มหาอุด ซึ่งหลวงปู่เพิ่มจารเอาไว้ ในช่วงที่นำให้เช่าบูชา เมื่อคราว พ.ศ.2516 ส่วนที่แจกไปเมื่อครั้งหลวงปู่บุญนั้นมักจะไม่มีรอยเหล็กจาร ถ้ามีจารจะจารว่า ภควา อันหมายถึงเอกลักษณ์แห่งโชคลาภนั่นเอง ซึ่งพบว่ามีเป็นส่วนน้อยมากบางองค์จะจารเป็นอักขระสามแถวก็มี ซึ่งเป็นรอยลายมือของหลวงปู่บุญ
ราคาปัจจุบัน
450000
จำนวนผู้เข้าชม
9529 ครั้ง
สถานะ
ยังอยู่
โดย
ชื่อร้าน
โจ คอนสาร
URL
เบอร์โทรศัพท์
0806698987
ID LINE
jokonsan888
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี